สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่อง Wireless กันซักหน่อย จริงๆผมก็ได้จับงาน Wireless มาระยะนึงแล้ว แต่ช่วงนี้กำลังอ่านเนื้อหาของ CCNA Wireless อยู่พอดี ก็เลยเอาความรู้มาแชร์กันซักหน่อยละกันครับ
ที่ผมจะพูดถึงวันนี้ก็คือเรื่องของ Cisco Wireless LAN Controller หรือที่เราเรียกย่อๆว่า WLC นั่นเอง โอเค ตอนนี้ผมจะยังไม่พูดถึงทฤษฎีคลื่น (Radio Frequency) นะครับ เพราะมันจะค่อนข้างเยอะพอสมควร ถ้าพร้อมแล้ว ไปกันเลยครับ !!!
เปิดมากับคำถามแรกเลยว่า WLC คืออะไร ? แล้วทำไมต้องใช้ WLC ?
ผมก็ต้องบอกก่อนว่า โดยแต่เดิมนั้น Access Point (AP) ที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณ Wireless จะทำงานแบบตัวใครตัวมัน !! (Standalone) หรือ Cisco เรียกว่า Autonomous AP
หมายความว่า ถ้าเรามี AP 2 ตัว เราจะต้องทำการตั้งค่า AP ทั้ง 2 ตัว ถ้ามีตัวที่ 3 หรือ 4 เอามาใช้งาน เราก็ต้องเข้าไปตั้งค่าแบบเดิมอีกทุกตัวเวลาที่มี AP เข้ามาใช้งานเพิ่ม แถมยังต้องไปจัดการเรื่องของ Radio Management ต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย เช่น
- Channel ที่ใช้งานก็ต้องไปตั้งค่าที่ละตัว ถ้ามี AP 3 ตัว ก็ต้องเข้าไปตั้งค่าทีละตัว เช่น AP 1 อยู่ Channel 1 , AP 2 อยู่ Channel 6 , AP 3 อยู่ Channel 11เป็นต้น
- Roaming คือการที่สามารถใช้งาน Wireless ได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีการข้าม AP เช่น ตอนนี้เราใช้งาน Wireless ผ่าน AP ตัวที่ 1 อยู่ เมื่อเราเดินห่างจาก AP ตัวที่ 1 ออกไป จนใกล้ถึง AP ตัวที่ 2 เราจะต้องสามารถมาใช้งานผ่าน AP ตัวที่ 2 ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องไป Connect ใหม่ หรือ ไม่หลุดนั้นเอง..
- Transmission Power คือการกำหนดกำลังส่งของ AP แต่ละตัว ว่าต้องการให้ AP ตัวไหนส่งแรง หรือ ส่งเบา
จะสังเกตุว่า ความยุ่งยากจะเกิดขึ้นเมื่อเราใช้ AP แบบ Standalone นี่ยังไม่รวมถึงเวลาเราต้องการ Upgrade Software เลยนะครับ เราจะต้องไป Upgrade ทีละตัว ถ้าระบบเรามี AP ซัก 100 ตัว จะเป็นอย่างไร คงพอจะมองเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับ !!
เพื่อความสะดวกสบายและง่ายต่อการจัดการ เราจึงต้องมี WLC ที่ไว้คอยควบคุม AP ทั้งหมด โดยเราสามารถจัดการ AP ทั้งหมดผ่าน WLC ได้เลย
Cisco AP ที่จะสามารถใช้งานกับ Cisco WLC ได้เราจะเรียกว่า Lightweight AP (LAP) เราจะสามารถ control ทุกอย่างของ AP ผ่าน WLC ได้ ไม่ว่าจะเป็น Channel , Roaming , Transmission Power เป็นต้น รวมถึง config ต่างๆของ AP ด้วย โดยคอนฟิกที่ WLC แล้วตัว WLC จะสั่งการไปยัง AP ที่เข้ามา register หรือเข้ามา join กับ WLC
WLC กับ AP จะคุยกันผ่าน Protocol ชื่อ CAPWAP (Control And Provisioning of Wireless Access Points) เปรียบเสมือนการสร้าง Tunnel จาก AP ไปยัง WLC นั่นเอง ซึ่ง CAPWAP จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
- CAPWAP Control Plane ใช้คุยระหว่าง WLC กับ AP เพื่อจัดการเรื่อง Radio Management เช่น Channel , Transmission Power และ ค่า config ต่างๆของ AP เช่น สั่งปิด Radio , ตั้งค่า Authentication และอื่นๆ ใช้งานผ่าน UDP 5246
- CAPWAP Data Plane เป็นช่องทางของการส่ง Data เวลาเราส่งข้อมูลจาก Client นั่นเอง ใช้งานผ่าน UDP 5247
Note : แต่เดิม Cisco ใช้ Protocol LWAPP ในการคุย แต่ปัจจุบันพัฒนา LWAPP ขึ้นมา ให้เป็น CAPWAP แทน
ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนการสร้าง CAPWAP Tunnel จาก AP ไปยัง WLC นั่นเอง !! เพราะฉะนั้น traffic ของ Client เมื่อ connect AP แล้วส่งออกไป traffic จะวิ่งผ่าน CAPWAP Data Plane tunnel ไปหา WLC ก่อน แล้วจึงส่งออกไปต่อ (mode โดย default ของ AP จะทำงาน เช่นนี้ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ)
จากรูป เมื่อ Client B ต้องการส่ง หา Client A ที่อยู่บน AP ตัวเดียวกัน และ SSID เดียวกัน traffic ของ Client B จะถูกส่งผ่าน CAPWAP Data Plane เข้าไปหา WLC ก่อน จากนั้นจึงส่งกลับมา ลักษณะการทำงานแบบนี้ เรียกว่า Central Swithing
AP ของ Cisco ก็จะมี Part-Number บอกว่ารุ่นไหนเป็น Autonomous หรือ Lightweight
ตัวอย่าง Part Number ของ Lightweight AP
- AIR-CAP2602I
ตัวอย่าง Part Number ของ Autonomous AP
- AIR-SAP2602I
ให้สังเกตตัวเลขที่ตามหลัง w ว่าเป็นเลข 7 หรือเลข 8
w7 = Autonomous (Standalone)
w8 = Lightweight
Lightweight Image:
Autonomous Image:
จบแล้วครับ ถ้ามีเวลาจะมาอัพเดทให้อีกนะครับ ขอบคุณครับ
By ReFeeL
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ CCNA Wireless
อย่าพึ่งหยุดเขียน blog นะพี่
ตอบลบตอนนี้ผมสนใจทำงานด้าน network กำลังจะเรียนจบ
blog พี่ดีมากๆเลยครับ
ขอบคุณครับ ก็ถ้ามีเวลาจะมาเขียนเรื่อยๆครับ
ลบมีเวลาเยอะๆนะครับ ผมติดตามพี่อยู่ มีโอกาสจะไปเรียนด้วยครับ
ตอบลบมีตัว Wireless Controller ตัวไหนที่สามารถ ควบคุม Access Point ได้หลายๆแบรนด์บ้างคะ
ตอบลบไม่น่ามีนะครับ
ลบกดหัวใจสิบรอบ(อินเฟสบุ๊ค)
ตอบลบมสงสัยหน่อยครับ CAPWAP Data Plane คือเวลา Client จะส่ง Data ภายใน net เดียวกันจะต้องวิ่งไป WLC ทุกครั้งเลยหรอครับ
ตอบลบผมกำลังนึกว่า ถ้าเรามี site ต่างจังหวัด และมี Link ระหว่าง site ไม่กี่ Mb แค่การส่งใน วง LAN [net เดียวกัน] จะต้องผ่านไป WLC มันจะเปลือง Bandwidth ป่ะครับ
ขอบคุณครับ
ถูกต้องครับ ถ้ากรณีเราไม่มี WLC ที่ไซต์นั้น และให้ AP ไป join กับ WLC ที่อยู่ข้ามไซต์ เราจะใช้เป็น FlexConnect Mode ครับ เพื่อให้ทราฟฟิคไม่ต้องสิ่งข้าม WAN ไปหา WLC
ลบเราจะใช้เป็น FlexConnect Mode, AP จะ Connect เหมือนเป็น Bridge ธรรมดาใช่ไหมครับไม่ใช่ Tunnel
ลบขอบคุณมากครับ ความรู้ดีๆ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบระหว่าง flex กับ local มีข้อดี ข้อเสีย หรือ มันแตกต่างกันอย่างไรครับ
ตอบลบ