โดยปกติในระบบที่เราใช้งาน เราก็จะทำการตั้งค่า Root Bridge ไว้ที่ Core Switch เพื่อให้เกิดการเลือก L2 Path (STP) ที่เหมาะสม แต่ถ้าเกิดวันนึงพวก Access Switch ที่ต่อใช้งานอยู่เกิดถูก config ให้มีค่า Bridge Priority ต่ำกว่า Root Bridge ที่ใช้งานอยู่ มันก็จะทำให้ Access Switch ตัวนั้นกลายเป็น Root Bridge ไปโดยปริยาย
เราสามารถป้องกันได้ด้วย config Bridge Priority ของ Root Bridge ให้เป็นมีค่า 0 มันก็จะทำให้ Switch ตัวนั้นมีค่า Bridge ID ต่ำสุดและการันตีความเป็น Root Bridge แน่นอน
Switch(config)#spanning-tree vlan 1 priority 0แต่ !!! ถ้าเกิดว่ามี Switch ตัวนึงเกิด config Bridge Priority เป็น 0 เหมือนกันล่ะ ?? ตามกฎการเลือก Root Bridge เมื่อ Priority เท่ากัน ให้ไปดูที่ MAC Address ต่อ แล้วถ้าเกิด Switch ตัวใหม่นี้เกิดมี MAC Address ต่ำกว่า Root Bridge ตัวเดิมขึ้นมาล่ะ หุหุหุ ไอตัวใหม่มันก็กลายเป็น Root Bridge ทันที
ดังนั้น เราก็เลยใช้ไอเจ้า Root Guard ตัวนี้แหละ เข้ามาช่วยครับ โดย Root Guard จะ enable บน designated port เพื่อป้องกันไม่ให้ designated port กลายเป็น root port หรือ block port โดยถ้า port ที่ enable Root Guard ขึ้นมาได้รับ Superior BPDU (BPDU ที่มีค่า BridgeID ต่ำกว่า) เข้ามา port นั้นจะเข้าสู่ root-inconsistent (blocked) state.
ลองมาดูตัวอย่างกันครับ
จากรูปบน Switch A เป็น Root Bridge และมีการทำงานปกติตามกลไลของ STP
แล้วถ้าเกิดอยู่ดีๆ Switch D มีค่า Bridge ID ต่ำกว่าในระบบขึ้นมา จะทำให้ Switch D กลายเป็น New Root Bridge ทันที
เราจึง enable Root Guard ไว้บน port ของ Switch C ที่เชื่อมต่อไปหา Switch D
SwitchC(config)#interface fa0/3เมื่อใดก็ตามที่ Switch D มี Bridge ID ต่ำกว่าในระบบ แล้วส่ง Superior BPDU ออกไปให้ Switch C จะทำการ block port นั่นทันทีโดยจะมี message แสดงขึ้นมา
SwitchC(config-if)#spanning-tree guard root
%SPANTREE-2-ROOTGUARD_BLOCK: Root guard blocking port FastEthernet0/3 on VLAN0001.
%SPANTREE-2-ROOTGUARDBLOCK: Port 0/3 tried to become non-designated in VLAN 1.
Moved to root-inconsistent state
และ port จะเข้าสู่ root-inconsistent (blocked) state ทันที
SwitchC#show spanning-tree inconsistentports
Name Interface Inconsistency
-------------------- ---------------------- ------------------
VLAN0001 FastEthernet0/19 Root Inconsistent
VLAN0001 FastEthernet0/20 Root Inconsistent
VLAN0001 FastEthernet0/21 Root Inconsistent
VLAN0001 FastEthernet0/22 Root Inconsistent
VLAN0001 FastEthernet0/23 Root Inconsistent
VLAN0001 FastEthernet0/24 Root Inconsistent
Number of inconsistent ports (segments) in the system : 6
จบแล้วครับ สำหรับวันนี้ เรื่อง Root Guard หวังว่าจะได้ความรู้เพิ่มเติมไปบ้างไม่มากก็น้อยกันนะครับ แล้วเจอกันรอบหน้าครับ ^_^
By ReFeeL
Thank Pic : http://www.cisco.com/en/US/tech/tk389/tk621/technologies_tech_note09186a00800ae96b.shtml
ท่านทราบข่าวการแข่งขัน cisco ต่างๆ จากที่ไหนครับ
ตอบลบผมอยากลองแข่งด้วย
ต้องดูว่าที่มหาวิทยาลัยเข้าร่วมหรือเปล่านะครับ
ตอบลบ