[Theory] Congestion management หรือเรียกอีกอย่างว่า Queuing Mechanism
เนื้อหาส่วนนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจเรื่อง การติดตั้ง QoS ซึ่งจะพบหลักๆ ในเนื้อของวิชา QoS และ ONT
โดยก่อนที่จะเรียนรู้วิธีติดตั้ง QoS เราจะต้องเรียนรู้ก่อนกว่า Queue มีแต่แบบ แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร
[ โดยจะไม่มีการ ลงลึกไปถึงการ Configure ซึ่งจะขอยกไปคราวหน้า ถ้ามีเวลา -- fairy remark ]
Queue (คิว) เป็นกลไกหลักที่ใช้ควบคุมการส่ง Packat (หรือ Frame ในกรณีที่ใช้ Layer 2 Queue แต่ส่วนใหญ่แล้ว
จะเน้นกันที่ Layer 3) ออกไป การเลือกใช้คิวนั้นจะมีผลต่อ Bandwidth, Jitter, Delay, และ Packet loss ถ้าเราเลือก
ใช้คิวได้ถูกต้องแล้ว ย่อมส่งผลให้ การทำงานของเน็ตเวิร์คมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเรียกว่า เป็น Queuing mechanism
หรือ Congestion management แปลตรงตัวคือการลดความแออัดของข้อมูล
First-In First-Out Queuing Queuing (FIFO)
First-In First-Out Queuing ถือเป็นพื้นฐานที่สุดของอุปกรณ์เครือข่ายทุกชนิด คือมีเพียงคิวเดียว ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่ง
Packet โดยจะให้ความสำคัญกับ Packet ที่เข้ามาถึงก่อน ได้ถูกประมวลผลและนำออกไปก่อน เนื่องจากเป็นระบบแรกๆ ของ
คิว จึงยังไม่มีการใช้ QoS Technique โดยปกติแล้วเกือบทุก Interface จะถูก Configure ให้ใช้คิวนี้เป็น Default Queue
ข้อดี ทำงานได้เร็ว, ไม่เปลือง CPU, ไม่เปลือง Memory
ข้อเสีย เกิด Delay time ในการใช้งาน Packet ข้ามประเภทกันเช่น ใช้ FTP คู่กับ VOIP เป็นต้น
Priority Queuing (PQ)
จะมีการแบ่ง คิวออกเป็นสี่คิวคือ High, Medium, Normal, และ Low โดยจะให้ความสำคัญกับการส่ง คิวในระดับที่สูงกว่าก่อน
จนหมด จึงถูกเรียกว่า เป็น Unfair Queue ซึ่งทำให้หลายๆ ครั้ง Packet ใน Low queue ไม่เคยถูกส่งออกไปเลย
ข้อดี มีการจัด ความสำคัญของคิว
ข้อเสีย มีความไม่เป็นธรรมในแต่ละ คิวทำให้บาง Packet อาจจะไม่ได้รับการดูแล
Fair Queuing (FQ)
[ ใน Cisco เรียก Round Robin Queuing -- ยังไม่ 100% รอตรวจสอบ "fairy remark"]
[ ในบางตำราเรียก Custom Queuing -- ยังไม่ 100% รอตรวจสอบ "fairy remark"]
เพื่อลดความ ได้เปรียบของ Priority ใน PQ จริงมีการสร้าง คิวแบบใหม่ที่มีการสลับกันรับส่ง สลับกันไปอย่างละ Packet
ในแต่ละ คิว วนกันเป็นวงกลม แต่จะไม่มีการกำหนด Priority แต่อย่างใด
ข้อดี แก้ปัญหาของ PQ
ข้อเสีย ยังเกิด Delay Packet อยู่
Weighted Round Robin Queuing (WRR)
เป็นการผสมที่ลงตัวระหว่าง PQ และ FQ เพื่อให้ สามารถ สลับรับส่งได้ และยังคงความสำคัญของ Priority ไว้ได้
ข้อดี แก้ปัญหาเรื่อง Delay Packet
ข้อเสีย ไม่สามารถ กำหนดรูปแบบ Packet ในแต่ละ คิวได้
Weighted Fair Queuing (WFQ)
[ บางตำราเรียก Flow-Based Weighted Fair Queue (FBWFQ) -- fairy remark ]
เป็นการรวมเอาข้อดีและข้อเสียของคิวแต่ละแบบที่กล่าวมาแล้ว พัฒนาขึ้นเป็น WFQ ซึ่งมีการกำหนดการทำงานได้กว้างขึ้น
WFQ ถูกกำหนดให้เป็นมาตราฐานสำหรับ Interface ที่มีความเร็วเท่ากับ หรือว่าต่ำกว่า E1 เช่นใน Frame Relay รึว่า ATM
WFQ สามารถกำหนดรูปแบบของคิวได้ตาม Flow
WFQ กำหนดให้มีการส่ง Packet ที่มีขนาดเล็กก่อน ขนาดใหญ่
WFQ สามารถกำหนดรูปแบบในการ Drop Packet ที่มีขนาดใหญ่ก่อนเสมอ เพราะจะทำให้คิวว่างมากที่สุด
ข้อดี แก้ปัญหาเรื่อง Delay, Configure ง่าย
ข้อเสีย ความยืดหยุ่นต่ำ, ไม่สามารถ Customize ได้
Class-based Weighted Fair Queue (CBWFQ)
พัฒนาจาก WFQ เพื่อให้สามารถ Customize คิวได้ตามต้องการ โดย CBWFQ จะสามารถเลือก Packet ที่จะนำไปใส่ในแต่
ละคิวได้เอง โดยทั้งกำหนด Bandwidth ของแต่ละคิว และรูปแบบในการ Drop Queue ได้อย่างอิสระ
ข้อดี สามารถกำหนด Classification ได้เอง, สามารถกำหนด Bandwidth ได้เอง, สามารถคอนโทรลและขยายขนาดได้เอง
ข้อเสีย ยังไม่สามารถจัดการ Voice Traffic ที่เรื่องมากที่สุดได้ดีนัก
Low Latency Queue (LLQ)
เป็นคิว พิเศษที่สร้างข้อมาเสริมใน CBWFQ เพื่อใช้ควบคุม Voice Traffic โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ คิวนี้มีอภิสิทธิ์เหนือคิวอื่นใน CBWFQ
ทั้งหมด
ข้อดี สามารถจัดการ Voice Traffic ได้, พร้อมทั้งยังมีข้อดีจาก CBWFQ อีกด้วย
ข้อเสีย เนื่องจากเป็นแมนนวล จึงต้องอาศัยความรู้ในการปรับแต่ง
By fairy @ Siamnetworker.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น