วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีตรวจสอบความเสถียรของสัญญาณ ADSL

การใช้งานอินเทอร์เน็ตในระดับ SOHO (Small Office/Home Office) ทั่วไป ที่เราใช้งานผ่าน DSL แล้วเกิดอาการหลุดหรือใช้งานได้ช้า โดยปกติก็จะมีการตรวจสอบในส่วนที่เป็น Internal LAN ว่ามีการใช้งานผิดปกติหรือไม่ เช่น การใช้งาน Bandwidth สูงบางเครื่อง หรือการใช้งานผ่านการดาวน์โหลดแบบ P2P เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการเชื่อมต่อที่เป็น External ล่ะเราจะสามารถตรวจสอบอะไรได้บ้างที่สามารถยืนยันได้ว่า DSL ที่เราใช้มันไม่เสถียรจริงๆ เราลองมาดูวิธีการตรวจสอบในส่วนของการเชื่อมต่อระหว่าง ISP กับ DSL CPE (External) ตามนี้เลยครับ 


ปกติแล้วสัญญาณ ADSL จะมีค่ามาตรฐานในการวัดคุณภาพสาย เรียกว่า ค่า SNR และค่า Line Attennuation
  • ค่า SNR (Signal to Noise Ratio) จะเป็นตัวบอกถึงความแรงของสัญญาณ ADSL เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาณรบกวน หน่วยเป็น เดซิเบล (dB) 
    • ลอง นึกภาพตามง่ายๆครับ ให้เราและเพื่อนไปอยู่ในห้องเงียบๆห้องนึงแล้วคุยกัน เราและเพื่อนก็จะได้ยินเสียง (Signal) กันชัดเจนใช่ไหมครับ แต่ถ้าเกิดเปิดวิทยุหรือทีวีขึ้นมาให้เกิดเสียงแทรกขึ้น (สัญญาณรบกวน : Noise) เมื่อเราคุยกับเพื่อนก็จะได้ยินเสียงกันไม่ชัดเจนละ ถ้าต้องการจะให้ชัดเจนก็ต้องตะโกนให้ดังขึ้น (Tune-up Signal Strength) หรือไม่ก็มายืนใกล้ๆกัน เพื่อที่จะได้คุยกันรู้เรื่องในขณะที่มีเสียงอื่นๆเข้ามาแทรก
ค่าอ้างอิงของ SNR (dB) 
0 - 5 dB = แย่, bad, no sync/intermittent sync 
8 - 13 dB = ปานกลาง - อาจจะไม่จับสัญญาณบางครั้ง (average - and no sync issues) 
14 - 22 dB = ดีมาก (very good) 
23 - 28 dB = ยอดเยี่ยม (excellent) 
29 - 35 dB = สุดยอด (rare) 

  • SNR Margin หรือ SNRM หรือ Noise Margin หรือ Receive Margin ส่วนใหญ่จะใช้เรียกกันใน หมู่ผู้ผลิต Modem CPE ที่มักจะใช้กำหนดตั้งเป็นค่า default ของ โมเด็ม
    •  SNR Margin ให้มองว่าเหมือน (Buffer Zone) SNR Margin กับ SNR มีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน SNRM คือ ความแตกต่างระหว่าง Actual line SNR กับ SNR ที่ต้องการ Run speed นั้น ๆตัวอย่างเช่น ถ้าสายเคเบิลต้องการ Run SNR 35 dB ที่ Speed 8 Mbps และ Actual line SNR = 41 dB ดังนั้น SNRM = 41-35 = 6 dB จะเป็นค่า Default ต่ำสุดที่ CPE ยอมให้ตั้งค่าได้ (หมายถึง ถ้า SNRM ต่ำกว่า 6 dB แสดงว่า Speed ไม่ Sync) ค่าที่เครื่อง Set ค่าให้ตั้ง SNRM ได้คือ 6, 9, 12, และ 15 dB ยิ่งค่า SNRM มาก ยิ่งดี คือ สัญญาณ Internet หลุดยาก 
  • ค่า Line Attenuation คือค่าการลดทอนของสัญญาณเมื่อเดินทางจาก DSLAM มาถึงโมเด็มในบ้านของผู้ใช้งาน หรือเรียกว่าค่า Loss ก็ได้ครับ 
    • บอกอัตราการสูญเสียสัญญาณจาก DSLAM มาสู่ DSL CPE ยิ่งมีค่าน้อยยิ่งดี ค่าน้อยแสดงให้เห็นว่ามี Loss ต่ำ หากสายโทรศัพท์ของบ้าน หรือที่ทำงานของเรา ห่างจากชุมสายมาก ค่า Line Attenuation ก็จะสูงตามไปด้วย
Line Attenuation
ต่ำกว่า 20 = rare, great copper lines, close to co/remote
20 - 30 = ยอดเยี่ยม ( excellent )
30 - 40 = ดีมาก very ( good )
40 - 60 = ปานกลาง ( average )
60 - 65 = แย่ ( poor )

ตัวอย่างการดูค่า DSL Line Status จาก Zyxel


สรุปได้อย่างสั้นสำหรับค่าของ SNR และ Attenuation ที่อยู่ในระดับที่เสถียร
  • SNR ไม่ควรต่ำกว่า 10 dB (เดซิเบล)
    • ค่า SNR ที่ต่ำผิดปกติ อาจเนื่องมากจากคุณภาพของสายโทรศัพท์
  • Line Attenuation ไม่ควรสูงกว่า 55 dB
    • ค่า Line Attenuation ที่สูงผิดปกติ อาจเกิดจากสัญญาณรบกวนในสายโทรศัพท์ เช่น ความชื้นหรืออยู่ไกล้แหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า หรือเกิดจากระยะทาง ที่ไกลเกินไปจากชุมสายโทรศัพท์ เช่น ไกลเกินระยะ 5.5 กิโลเมตรตามมาตรฐานของ ADSL
ถ้าเกิดค่า SNR และ Attenuation มีค่าตามมาตรฐานแล้วยังเกิดปัญหาดังกล่าวอยู่ ให้ลองตรวจสอบการใช้งานและการเชื่อมต่อภายในที่เป็น Internal LAN ครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สายภายใน , กล่องรับสัญญาณ หรือแม้แต่ Splitter ครับ


ในกรณีที่มีค่า SNR Margin ต่ำ หรือมี Line Attenuation สูง ให้พิจารณาเรื่องดังต่อไปนี้
1. เดินสายโทรศัพท์ตามทางสายไฟบ้านหรือไม่ สายไฟแรงสูงที่อยู่ใกล้ๆ จะส่งผลให้เกิดสัญญาณรบกวน ( Noise) มากขึ้น
2. สายโทรศัพท์มาตรฐานหรือไม่ สายโทรศัพท์ที่ไม่ได้มาตรฐาน (เส้นลวดอาจมีขนาดเล็ก) จะทำให้การค่าความต้านทานสูงขึ้นและ Line Attenuation จะมีมากขึ้น
3. อุปกรณ์ต่อพ่วงของโทรศัพท์ เช่น POTS Splitter Micro filter โทรศัพท์ต่อพ่วง มีผลกระทบต่อทั้ง 2 ปัจจัย ยิ่งมีอุปกรณ์ต่อพ่วงมาก ก็จะเกิดสัญญาณรบกวนและ Line Attenuation จะมีค่ามากขึ้น
4. เช็คจุดที่มีการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ ว่ามีการขันสายยึดแน่นเรียบร้อยหรือไม่
5. ตรวจเช็คกล่องดำว่ามีน้ำขัง หรือสายทองแดงมีอ๊อกไซต์เกาะอยู่หรือไม่ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่า SNR Margin ต่ำ
6. เช็คระยะทางจากชุมสายถึงกล่องดำของลูกค้า ว่าไกลจากชุมสายมากหรือไม่ หรืออยู่ปลายชุมสายหรือไม่ เพราะยิ่งไกลจากชุมสาย จะยิ่งทำให้ได้รับสัญญาณที่ต่ำรวมทั้งมีสัญญาณรบกวนเยอะขึ้น และลูกค้าจะไม่สามารถขอความเร็วที่สูงได้ จะทำให้ SNR Margin ต่ำลงแบบสุด ๆ ไม่มีความเสถียรของสัญญาณ
ในกรณีที่เช็คเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว ยังมีค่าที่ผิดปกติอยู่ ต้องลองให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มาตรวจเช็คสภาพสายโทรศัพท์ 


ขอบคุณข้อมูลจาก www.adslthailand.com

1 ความคิดเห็น:

  1. มีประโยชน์มากครับ เช็คได้ละเอียดดีครับ แต่ถ้าต้องการเดินสาย ฝากไว้ซักทีมครับ http://comsiam.com/lan/ ยินดีให้คำปรึกษาฟรีครับ

    ตอบลบ